ยุคปัจจุบันนอกจากจะเป็นยุคโลกาภิวัฒน์แล้ว ยังเป็นยุคแห่งสารสนเทศไร้พรมแดนด้วย และเป็นยุค ที่เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเริ่มก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งในภาคธุรกิจและในภาคการศึกษา ดังจะเห็นได้จากการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศนโยบายที่จะให้ทุกห้องเรียนสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ภายในปีค.ศ. 2000 และนักเรียนทุกคนต้องได้รับการศึกษาด้านเทคโนโลยีนี้ ในประเทศไทยเอง ถึงแม้จะไม่มีการประกาศแผนนโยบายด้านนี้ชัดเจน อินเตอร์เน็ตก็เริ่มก้าวเข้ามาสู่สถาบันการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษา ดังจะเห็นได้จากการที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ลงทุนติดตั้งระบบเครือข่าย network ภายในและต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตเพื่อให้อาจารย์และนิสิตนักศึกษาได้ใช้อินเตอร์เน็ตกัน
การนำอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เป็นการนำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา ซึ่งในเรื่องนี้ มีผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มองเห็นข้อดีของการใช้ประโยชน์จากสื่อนี้เพื่อการศึกษา เพราะมองว่าอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้รับสารเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมากมายและสะดวกรวดเร็ว ช่วยให้มีการเรียนรู้แบบ self center มากขึ้น ขณะที่อีกกลุ่มจะมองการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในเชิงลบ คือมองถึงผลกระทบของสื่อนี้ต่อระบบการศึกษาว่า จะส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการศึกษาไปจนถึงล้มล้างระบบและสถาบันการศึกษาที่มีมากว่า 2500 ปี
ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร (Information and Communication Technology) มาใช้เพื่อพัฒนาการศึกษา พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนนำไปสู่การเรียนรู้แบบ “ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” ผู้เรียนสามารถสร้างการเรียนรู้ได้ ทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานที่ ขึ้นกับความต้องการแสวงหาความรู้ของผู้เรียน โดยมีระบบ e-Learning เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญสนองตอบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน e-Learning (electronic Learning) คือ การจัดการเรียนรู้ ที่อาศัยสื่ออิเล็กโทรนิกส์ ทั้งระบบ Online และ Off Line ,ทั้งแบบ one-way communicationและ Two-way communication ทั้งแบบ CAI CD-Rom และ WBI (Web-based Instruction) TV VDO และระบบสื่อสารอิเลกโทรนิกส์ อื่นๆ
ปัจจุบัน e-Learning มุ่งเน้นระบบการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรียกว่า “อีเลินนิ่ง” หรือ ”บทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย” โดยใช้ร่วมกับเนื้อหาที่เป็นสื่อประสม ทั้ง ตัวหนังสือ (Text) ภาพ (Image) ภาพวีดิทัศน์ (VDO) เสียง (Audio) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และสื่อประสม (Multimedia) โดยมีระบบจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System หรือ LMS) โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ระบบการจัดการรายวิชา ระบบการจัดการสร้างเนื้อหา ระบบดูแลบริหารผู้เรียน ระบบส่วนการจัดการข้อมูลบทเรียน และระบบเครื่องมือช่วยจัดการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ และจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ การสื่อสาร Chat, E-mail, Web-board, การเข้าใช้ , การเก็บข้อมูล, การรายงานผล เป็นต้น